Clinical Research ตำแหน่งน่าสนใจในวงการยา





เพราะในวงการยาไม่ได้มีแค่ Sale และ Marketing เท่านั้น วันนี้เราขอแนะนำอีกหนึ่งตำแหน่งที่มีความสำคัญในวงการยา ตำแหน่งนั้นคือ Clinical Research หลายคนฟังตำแหน่งแล้วดูห่างไกลและดูวิชาการน่าเบื่อมาก แต่จริงๆแล้วตำแหน่งนี้มีความน่าสนใจมากนะครับ วันนี้บริษัท Pharm Connection ภูมิใจนำเสนอ ภญ.มณฑน์รส จิตรังษี หรือ น้องแพร จบเภสัชจุฬารุ่น 60  ตอนนี้ทำตำแหน่ง Clinical Research Manager ของบริษัทยายักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งนะครับ น้องแพรเริ่มต้นอาชีพในวงการยาจากตำแหน่ง Medical Representative --> Oncology Product Specialist  -->  Clinical Research Associate --> Sr.Clinical Research Associate --> Clinical Project Manager --> Clinical Research Manager(ปัจจุบัน)


PC : สวัสดีครับ น้องแพรครับ ก่อนอื่นเลย ช่วยบอกพี่และน้องๆที่อาจจะไม่รู้จักว่า Clinical Research ทำอะไรบ้างครับน้องแพร :Clinical research (งานวิจัยทางคลินิก) เป็นอีกหนึ่งสาขางานที่อยุ่ภายใต้กลุ่มงานการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ยาและชีววัตถุหรือสารต่างๆที่จะนำมาใช้ในมนุษย์ เพื่อรักษา ป้องกัน หรือบรรเทาโรคต่างๆ ซึ่งก่อนที่ยาเหล่านั้นจะได้รับการอนุญาตให้ใช้ในมนุษย์ได้ จะต้องมีหลักฐานทางคลินิกว่าใช้แล้วมีประสิทธิผลและปลอดภัยตามเกณฑ์การพิจารณาของ FDA ในแต่ละภูมิภาคหรือประเทศนั้นๆและได้รับการรับรองก่อนออกสู่ตลาด (Market authorization)   ซึ่งการจะได้มาซึ่งหลักฐานทางคลินิก (ซึ่งเราเรียกกันว่า ผลการวิจัยทางคลินิก-clinical trial result)  ยาเหล่านั้นจะถูกทดลองในมนุษย์เริ่มต้นตั้งแต่ clinical trial phase 1-3 และ 4 (post marketing surveillance – การเก็บข้อมูลหลังยาออกสู่ตลาด) และจะมีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเพื่อนำไปวิเคราะห์ตามหลัก biostatistics  เพื่อดูว่ายาเหล่านั้นใช้ในมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยหรือไม่อย่างไร   ในที่นี้ผู้เขียนขอกล่าวจำเพาะถึงงานวิจัยในมนุษย์ (clinical research) ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากการวิจัยทดลองในห้องแล็บ และ สัตว์ทดลอง (pre-clinical, in vitro) แล้ว
การวิจัยยาในมนุษย์มีขั้นตอนคร่าวๆดังนี้
1)      Clinical Development Plan (การวางแผนพัฒนาตัวยาใดตัวยาหนึ่งทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจนออกสู่ตลาด)
2)      Synopsis & Protocol development (เป็นการกำหนด study design ของงานวิจัยหนึ่งๆ เมื่อเขียนออกมาแล้ว เรียกว่า protocol ซึ่งเอกสารที่เรียกว่าโปรโตคอลนี้ จะเป็นเอกสารอ้างอิงถึงการทำงานวิจัยโดยมีการระบุตั้งแต่วิธีการสุ่มเลือกประชากรตามโรคที่สนใจ เกณฑ์การเข้า/ไม่เข้าการวิจัย ชนิดของยา/ยาหลอก/ยาเปรียบเทียบที่ใช้ ขนาดยาที่ให้และวิธีการบริหารยา การประเมินความปลอดภัย วิธีการคำนวณผลการวิจัย และข้อมูลอีกมากมายเพื่อให้แพทย์ผู้วิจัยใช้ในการดำเนินการทดลอง ฯลฯ) ทั้งนี้ก่อนการทำการทดลอง แพทย์ผู้วิจัยจะต้องได้รับการอนุมัติจากทางคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันนั้นๆก่อนว่าอนุญาตให้ดำเนินการวิจัยโปรโตคอลนั้นๆในสถาบันได้  โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีหน้าที่หลักในการพัฒนาโปรโตคอลมักจะมีพื้นฐานเป็นแพทย์โดยส่วนใหญ่ แต่อาศัยการทำงานร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์,นักสถิติ, Pharmacokinetic expert เป็นต้น แล้วแต่ความซับซ้อนของโปรโตคอลนั้นๆ
3)     Clinical trial conduct  ตรงจุดนี้เป็นการเริ่มต้นในการทำงานวิจัยยาในมนุษย์ โดยนำโปรโตคอลต่างๆที่ถูกพัฒนาขึ้นมาทดลองโดยแพทย์ผู้วิจัย (investigator) โดยใช้ยาเหล่านั้นกับผู้ป่วยหรืออาสาสมัครสุขภาพดี ทั้งนี้แล้วแต่ระยะของการวิจัย และ/หรือ ชนิดของยาที่ทำการทดลอง และทำการเก็บผลการวิจัยเพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป  การทำ Clinical trial อาจทำในประเทศเดียว (Single country) หรือมากกว่าหลายประเทศ (multinational) แล้วแต่ข้อมูลเจ้าของผลิตภัณฑ์ยาให้ความสนใจ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความชุกของโรคที่แตกต่างกันตามภูมิภาคต่างๆ หรือเป้าประสงค์ในการขึ้นทะเบียนตามระเบียบของ FDA ประเทศนั้นๆ  เป็นต้น
4)      Data analysis (การวิเคราะห์ผลเพื่อประเมินประสิทธิภาพ และ/หรือ ความปลอดภัยของยาตามที่ระบุไว้ในโปรโตคอล)  ผลการวิจัยที่ได้จะถูกเขียนออกมาเป็น  Clinical study report
5)      Medical writing – Publication (ขั้นตอนการตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์) ซึ่งจะถูกนำไปรวบรวมเพื่อขึ้นทะเบียนกับทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รับการรับรองและวางตลาดต่อไป
PC : ฟังดูแล้ว เป็นตำแหน่งที่เน้นวิชาการมากเลยนะครับ ยังงั้นตำแหน่ง Clinical Research เหมาะกับคนจบสาขาอะไรบ้างครับ
น้องแพร : จริงๆแล้ว ผู้จบสาขาแพทย์, เภสัชกรรม, พยาบาล และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละบริษัท)สามารถทำงาน  R&D ที่กล่าวข้างต้นได้ โดยเฉพาะงานในข้อ 3 ซึ่งในตลาดมีความต้องการแรงงานเป็นอย่างมากทั่วโลก  อาชีพที่หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินมาก่อน ได้แก่ Clinical Research Associate (CRA) ซึ่งหมายถึง ผู้ประสานงานวิจัย (อาจมีการเรียกเป็นอย่างอื่นแล้วแต่องค์กร เช่น Clinical Trial Monitor แต่มีเนื้องานและความรับผิดชอบใกล้เคียงกัน) หน้าที่หลักๆของ CRA คือ การประสานงานและดูแลการวิจัยเพื่อให้การวิจัยดำเนินไปอย่างถูกต้องตามหลัก ICH-GCP (International Conference on Harmonization- Good Clinical Practice) CRA จะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ผู้วิจัย พยาบาลวิจัย และผู้ช่วยวิจัย ฯลฯ บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ดำเนินการทดลองวิจัยยากับผู้ป่วยที่โรงพยาบาล  โดยมี CRA เป็นผู้ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำและเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ให้ทุนวิจัย (เช่น บริษัทยา) และแพทย์ผู้วิจัย   หน้าที่สำคัญของ CRA คือเป็นผู้ตรวจตราการวิจัยตามที่โปรโตคอลระบุไว้ เพื่อทำให้มั่นใจว่าผลการทดลองยาในมนุษย์มีความถูกต้องเที่ยงตรงและเป็นไปตามหลักการต่างๆที่กำหนดไว้ให้ใช้ในการวิจัย (ICH-GCP, Ethics requirement, local regulations) CRA เป็นบุคคลที่จะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องพื้นฐานการวิจัย รวมถึงความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคต่างๆ รวมไปถึงเรื่องยา  ดังนั้นผู้จบสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพจึงสามารถใช้วิชาชีพที่เรียนมาเพื่อประกอบอาชีพในสาขา Clinical Research ได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตาม บางบริษัทมิได้จำกัดงาน CRA ไว้สำหรับผู้ที่จบทางสายดังกล่าวเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นกับการพิจารณาของทางบริษัทเป็นที่ๆไป แต่โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ทำงานในสาย clinical research ควรจะมีพื้นฐานการเรียนทางสายวิทยาศาสตร์เป็นอย่างน้อย  CRA จะต้องมีความสามารถพื้นฐานในการสื่อสารได้คล่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื่องจากเอกสารที่ใช้ในการทำวิจัยส่วนใหญ่ถูกผลิตจากบริษัทยาต่างประเทศ รวมถึงทีมบริหารงานวิจัยมักจะอยู่ต่างประเทศ (HQ ของบริษัทยาต่างๆ)  ดังนั้น CRA ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานมากกว่า 80%   ความก้าวหน้าในอาชีพ (Career path) ของ CRA ค่อนข้างดี เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง สามารถทำงานข้ามประเทศได้เนื่องจากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเนื้อหาและการทำงานเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นจึงมีไม่น้อยที่ CRA จะต้องเดินทางไปดูแลสถาบันวิจัยที่อยู่นอกประเทศ (ซึ่งอาจอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน) CRA บางคนต้องเดินทางค่อนข้างมากเพื่อไปดูแลสถาบันวิจัยต่างๆ ตามโรงเรียนแพทย์    CRA ที่มีประสบการณ์ 3-5 ปีขึ้นไปสามารถเปลี่ยนสาขาที่สนใจไปทำงานที่ยังคงอยู่ใน R&D เหมือนกัน ได้แก่ Quality manager, Auditor,  Clinical project manager หรือเป็น Line manager ของ CRA ก็ได้ ทั้งนี้ตำแหน่งดังกล่าวมักถูกมอบหมายให้ดูแลงานมากกว่าหนึ่งประเทศ หรือ ต้องทำงานในระดับภูมิภาค จึงทำให้สายงานดังกล่าวมีความก้าวหน้าสูงทั้งใน vertical และ lateral growth
PC : เป็นไงบ้างครับ งานClinical research ไม่ใช่ตำแหน่งที่ไกลตัวเลยนะครับ ได้ใช้ความรู้ความสามารถและท้าทายมากเลยครับ อย่างที่น้องแพรบอกยังมีความต้องการในวงการเยอะมาก ซึ่งตำแหน่งClinical Research นี่มีเกือบทุกบริษัทเลยนะครับ นอกเหนือจากบริษัทยาข้ามชาติที่เราคุ้นเคยกัน ปัจจุบันมีหน่วยงานราชการเช่น CRC (clinical research center)ของรร.แพทย์ต่างๆ เช่น ศิริราช จุฬาฯ หน่วยงานเอกชน องค์กรอิสระ บริษัทยาในประเทศรวมถึงบริษัทกลุ่มที่เรียกว่า CRO (contract research organization - บริษัทรับทำงานวิจัยให้บริษัทยา) ที่ก็ต้องการ CRA จำนวนมากเพื่อดูแลบริหารงานวิจัยทางคลินิกเช่นเดียวกัน และมี experienced CRA จำนวนไม่น้อยที่ผันตัวออกไปเป็น Freelance CRA ซึ่งสามารถเปิดเป็นบริษัทของตัวเองได้ด้วย ดังนั้นจะเห็นว่ามีปัจจุบันงานรองรับตำแหน่งCRA เป็นจำนวนมาก อย่างที่บอกครับ วงการยามีมากกว่า Sale และ Marketing นะครับ ในส่วนของ Clinical Research ยังมีเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจอีกมาก เรามาติดตามกันต่อในโอกาสหน้านะครับ
น้องแพร :สำหรับน้องๆคนไหนสนใจอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับงาน Clinical Research สามารถติดต่อแพรได้ ยินดีแชร์และแนะนำงานให้ค่ะ สามารถเขียนมาที่ montharos@yahoo.com ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ

PC : ขอบคุณน้องแพรมากสำหรับข้อมูลดีๆนะครับ พบกันใหม่โอกาสหน้าครับ

ความคิดเห็น

  1. My name is hoover, my 18 year old daughter, Tricia was diagnosed with herpes 3 years ago. Since then, we have moved from one hospital to another. We tried all kinds of pills, but every effort to get rid of the virus was futile. The bubbles continued to reappear after a few months. My daughter was using 200mg acyclovir pills. 2 tablets every 6 hours and 15g of fusitin cream. and H5 POT. Permanganate with water to be applied twice a day, but all still do not show results. So, I was on the internet a few months ago, to look for other ways to save my only son. Only then did I come across a comment about the herbal treatment of Dr Imoloa and decided to give it a try. I contacted him and he prepared some herbs and sent them, along with guidance on how to use them via the DHL courier service. my daughter used it as directed by dr imoloa and in less than 14 days, my daughter recovered her health. You should contact dr imoloa today directly at his email address for any type of health problem; lupus disease, mouth ulcer, mouth cancer, body pain, fever, hepatitis ABC, syphilis, diarrhea, HIV / AIDS, Huntington's disease, back acne, chronic kidney failure, addison's disease, chronic pain, Crohn's pain, cystic fibrosis, fibromyalgia, inflammatory Bowel disease, fungal nail disease, Lyme disease, Celia disease, Lymphoma, Major depression, Malignant melanoma, Mania, Melorheostosis, Meniere's disease, Mucopolysaccharidosis, Multiple sclerosis, Muscular dystrophy, Rheumatoid arthritis Alzheimer's disease, parkinson's disease, vaginal cancer, epilepsy Anxiety Disorders, Autoimmune Disease, Back Pain, Back Sprain, Bipolar Disorder, Brain Tumor, Malignant, Bruxism, Bulimia, Cervical Disc Disease, Cardiovascular Disease, Neoplasms , chronic respiratory disease, mental and behavioral disorder, Cystic Fibrosis, Hypertension, Diabetes, Asthma, Autoimmune inflammatory media arthritis ed. chronic kidney disease, inflammatory joint disease, impotence, alcohol spectrum feta, dysthymic disorder, eczema, tuberculosis, chronic fatigue syndrome, constipation, inflammatory bowel disease. and many more; contact him at drimolaherbalmademedicine@gmail.com./ also with whatssap- + 2347081986098.

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

10 อันดับคำถาม ที่เค้านิยมจะถามกันโดยมากเวลาสัมภาษณ์งาน

รายนามสถานที่นำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรทั่วประเทศไทย ข้อมูลเดือน กค. 2556

รายชื่อ บริษัทขายเครื่องมือแพทย์ ที่น่าเชื่อถือ(ตอนที่2)