กลยุทธ์สร้างความสุขในองค์กร จาก พี่ Arun Sirichai

กลยุทธ์สร้างความสุขในองค์กร 
กลยุทธ์แรกคือการสร้างความมีส่วนร่วม ระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน หลายๆครั้งเราพยายามที่จะ
สร้างองค์กรของเราให้เป็นองค์กรที่ให้ทุกๆคนเสนอความคิดเห็น แต่หลายๆครั้งกลายเป็นการสร้าง
บรรยากาศที่อึมครึม ไม่มีใครกล้าพูดหรือเสนอความคิดเห็น เพราะเมื่อพูดไปมักจะเกิดช่องว่างระหว่างกัน ผมมีไอเดียของการลดช่องว่างระหว่างผู้บริหารกับฝ่ายปฏิบัติดังนี้ 
1.การให้พนักงานทุกระดับได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อโอกาสและอุปสรรคขององค์กร 
โดยที่ไม่มีตำแหน่งหรือระดับเข้ามาเกี่ยวข้อง 
2.การให้ผู้บริหารได้มีเวลาออกมาสัมผัสการทำงานในพื้นที่อย่างจริงจังและออกมาฟังผลตอบรับจากลูกค้าด้วยตนเอง 
ผมมองว่า การที่จะทำให้องค์กรของเราเป็นองค์กรแห่งความสุขได้ 
ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญหลายประการซึ่งสามารถแยกองค์ประกอบคร่าวๆด้วย 5 S ดังนี้
( reference ตำราสักหน่อยจะได้ดูดีนิสนึง)

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังยิ้ม, โทรศัพท์

S ตัวแรก ก็คือ Style of Leader หรือ สไตล์ของผู้นำ ผู้นำต้องมีความแฟร์ในการเปิดรับฟังความคิดเห็น และในบางครั้งต้องรู้จักการทำตัวเป็นผู้ตามที่ดีด้วย สรุปคือองค์กรต้องการ Leaders of Sharing นั่นเอง

S ตัวที่สอง คือ Staff หรือ บุคลากรในองค์กร การสร้างองค์กรแห่งความสุข ต้องเป็นความร่วมมือของบุคลากรทุกคนในองค์กร และต้องคิดเสมอว่าสิ่งที่อยากได้หรือเสนอนั้นต้องเป็นไปเพื่อที่จะทำให้องค์กรหรือส่วนรวมดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อตอบความต้องการของตัวเอง แต่องค์กรไม่ได้ก้าวไปข้างหน้านะครับ

S ตัวที่สาม คือ System หรือ ระบบงานต่างๆ ในองค์กร ท่านต้องร่วมกับพนักงานในการพิจารณาว่า มีระบบ ขั้นตอนการทำงาน ระเบียบกฎเกณฑ์อะไร ที่เห็นพ้องต้องกันว่า เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อการทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางการเงิน และเป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานรู้สึกอึดอัดคับข้องใจก็ต้องตัดหรือปรับปรุง และยังไม่มีระบบสวัสดิการอะไร ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขบ้าง ท่านต้องช่วยกันสร้างขึ้นมาทีละเล็กละน้อย ไม่ต้องรีบร้อน แต่ต้องทำ

S ตัวที่สี่ คือ Strategy หรือ กลยุทธ์ ท่านต้องนำเรื่อง องค์กรแห่งความสุข บรรจุไว้ในแผนกลยุทธ์หลักขององค์กร ที่ต้องมีเป้าหมาย ตัวชี้วัดความสุข และแผนกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งควรเป็นแผนงานที่พนักงานมีส่วนร่วมในการคิด และรับผิดชอบ

S ตัวสุดท้าย คือ Share Value หรือ ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร ตรงนี้เปรียบเสมือนหัวใจสำคัญขององค์กรแห่งความสุขนะครับ เราต้องปลูกฝังลงไปในจิตใต้สำนึกของพนักงานในองค์กร ให้เห็นความสำคัญ และปฏิบัติตามแนวทางขององค์กรแห่งความสุข ที่ได้กำหนดขึ้นไว้ร่วมกัน เป็นค่านิยมดีงาม ที่ทุกคนต้องยึดมั่น และคอยพัฒนาปรับปรุงและนำเรื่องนี้มาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สุดท้ายนี้สิ่งที่ผมเขียนมาจะทำให้องค์กรของท่านมีความสุขได้หรือไม่ คงเป็นเพียงไอเดียให้ทุกท่านนำไปต่อยอดดูนะครับ ขอบคุณที่ให้เวลาในการอ่าน


ข้อคิดดีๆจากพี่ Arun Sirichai 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รายนามสถานที่นำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรทั่วประเทศไทย ข้อมูลเดือน กค. 2556

10 อันดับคำถาม ที่เค้านิยมจะถามกันโดยมากเวลาสัมภาษณ์งาน

รายชื่อ บริษัทขายเครื่องมือแพทย์ ที่น่าเชื่อถือ(ตอนที่2)