Review หนังสือ What the most successful people do before breakfast
คนเรามีเวลาเท่ากัน คือ 24 ชม. ใน 1 วัน หรือ 168 ชม. ใน 1 สัปดาห์ บุคคลที่จะประสบผลสำเร็จได้เหนื อคนอื่น ก็คือบุคคลที่บริหารจั ดการเวลาที่มีเท่ากันนั้นได้มี ประสิทธิภาพสูงสุด แล้วเคยสงสัยมั๊ยว่า บุคคลที่ประสบผลสำเร็จอย่างสู งนั้นเค้าบริหารจัดการเวลากันยั งไง หนังสือเล่มนี้มีคำตอบครับ
“What the most successful people do before breakfast” เป็นหนังสือแนวการบริหารจั ดการเรื่องเวลา โดยเนื้อหาข้างในแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
1) Do before Breakfast
2) Do on the Weekend
3) Do at Work
เรามาดูรายละเอียดทีละตอนกันครั บ
1.”Do before Breakfast”
เวลาเช้า ผู้คนส่วนใหญ่มักจะตื่นขึ้ นมาพร้อมกับการเริ่มนับถอยหลัง ต้องทำกิจกรรมส่วนตัวทั้งหมดให้ เสร็จเพื่อทันเวลาเดิ นทางออกไปทำงาน ทานอาหารเช้าขณะเดินทาง ถึงออฟฟิตช้ากว่าเวลาปกตินิดหน่ อย เปิด facebook ไล่ดู Email และกิจกรรมอื่นอีกเล็กน้อย ซึ่งใช้เวลาพอสมควรก่อนจะเริ่ มทำงาน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกิจกรรมที่ ไม่มี Productivity เอาเสียเลย
แต่จริงๆ แล้ว เวลาในช่วงเช้าตรู่เป็นเวลาที่ มีค่ามาก ลองคิดดูว่าถ้าเราตื่นเร็วขึ้ นอย่างน้อยวันละ 1-2 ชม. เราจะมีเวลาเเพิ่มขึ้นอีกสั ปดาห์ละ7-14 ชม ซึ่งช่วงแรกอาจจะทำยากหน่อย แต่พอเราทำให้เป็นกิจวัตร (Habit) สุดท้ายการตื่นเช้าก็จะกลายเป็ นธรรมชาติของเราไปเอง
จากการสำรวจและสัมภาษณ์บุคคลที่ ประสบผลสำเร็จหลายคน ส่วนใหญ่แล้วจะทำกิจกรรมเหล่านี ้
- ใส่ใจการทำงาน (Nurturing their career)
ช่วงเช้าเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็น “Interruption Free” คือ เราสามารถตั้งใจอยู่กับสิ่งที่ เราจะทำให้เสร็จได้โดยไม่มี การแทรกจากสิ่งรบกวนอื่นๆ เราควรเลือกใช้ใช้เวลานี้ ในการทำงานที่มีความสำคัญสูงสุ ดในแต่ละวัน รับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวกับงาน หรือ เตรียมวางแผนรายการงานในแต่ละวั นเป็นต้น
- ใส่ใจความสัมพันธ์ในครอบครัว (Nurturing their relationships)
สำหรับคนที่มีครอบครัว หรืออย่างน้อยอาศัยอยู่กับเพื่อน เราสามารถใช้ช่วงเวลานี้ในการร่ วมทานอาหารเช้า พูดคุย ใส่ใจกันและกัน เพื่อเป็นการเริ่มวันใหม่ที่ สดชื่น พร้อมที่จะออกไปลุยงาน แล้วกลับมาเจอกันอีกครั้งในช่ วงเย็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต่ างเหนื่อยล้า และต้องการการพักผ่อน
- ใส่ใจตัวเอง (Nurturing themselves)
เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องใส่ใจในสุขภาพของตัวเอง การออกกำลังกาย เป็นกิจวัตรที่ผู้บริหารส่ วนใหญ่นิยมที่สุด และผลวิจัยก็ยังระบุว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุ ดในการออกกำลังกายก็คือช่วงเช้ านี้เอง แล้วจะสร้าง “ช่วงเช้า” ของเรายังไงดี แนะนำให้ปฎิบัติตาม 5 ขั้นตอนนี้
- Track Your Time ทำ Time Log เพื่อบันทึกว่า ในแต่ละวันเราทำอะไรไปบ้าง และใช้เวลาเท่าไหร่ เพื่อจะได้เห็นภาพว่าเราเสี
ยเวลาไปกับอะไร และควรจะปรับปรุงอะไร - Picture the Perfect Morning ทำรายการที่เราอบากทำช่
วงเช้าออกมาให้หมด เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ จักรยาน อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ อ่านหนังสือพิมพ์ เขียนเท่าที่เราอยากทำออกมาให้ หมดก่อน - Think through the Logistics พิจารณารายการต่างๆ กับการเดินทางที่เหมาะสม
- Build the Habit สร้างกิจวัตรนั้นขึ้นมา ช่วงแรกมันอาจจะต้องใช้
ความพยายามพอสมควร แต่พอมันเริ่มเป็นกิจวัตรแล้ว เราจะสามารถทำได้โดยธรรมชาติ - Tune up as Necessary ปรับเปลี่ยนแผน หรือ รายการที่ทำได้ตามความเหมาะสม
2. “Do on the Weekend”
บุคคลที่ประสบความสำเร็จส่ วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับ วันหยุด ด้วยเหตุผลที่ว่า เราทำงานหนักอย่างเต็มที่มาเป็ นเวลา 5-6 วันแล้ว ร่างกายและจิตใจของเราย่ อมการการพักผ่อน หรือการ Reset เพื่อให้พร้อมลุยงานหนักของสั ปดาห์หน้าต่อไป
เรื่องของวันหยุดมีความสำคัญถึ งขนาดมีระบุอยู่ในกฎของชาวยิ วเลยว่า วันเสาร์เป็นวันที่ห้ามทำอะไรทั ้งสิ้น นับตั้งแต่ พระอาทิตย์ตกเย็นในวันศุกร์ จนถึงพระอาทิตย์ตกเย็นในวั นเสาร์
สิ่งที่ควรทำในวันหยุ ดนอกจากการเที่ยว การพักผ่อนแล้ว อาจจะเป็นกิจกรรมที่ต่ างออกไปจากงานที่ทำอยู่ เช่น การฝึกทักษะบางกีฬา การทำอาหาร การเล่นดนตรี ผู้บริหารบางคนเลือกที่จะเข้าป่ าเพื่อไปตัดไม้ก็มี เหล่านี้ล้วนช่วยให้เราหลุ ดออกจากภาวะการทำงาน สนุกกับกิจกรรมใหม่ที่แตกต่างกั นออกไป
อย่างไรก็ตามการใช้เวลาในวันหยุ ด ควรมีการวางแผนเบื้องต้น ไม่ควรไปคิดเอาในเช้าวันเสาร์ ซึ่งก็จะเสียเวลาไปกับการเลื อกสถานที่ และเตรียมการไปทำให้วันหยุ ดเราหายไปหลายชั่วโมง ที่สำคัญคือ ควรระบุแผนการใช้วันหยุดของเน็ นวันอาทิตย์ลงไปด้วย อย่าไปจดจ่อรอวันจันทร์ที่มาถึง
3. “Do at Work”
การที่เราจะประสบผลสำเร็จพร้ อมกับความสุขได้ เราต้องรู้จักบริหารจั ดการเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ มีประสิทธิภาพที่สุด สิ่งที่เราต้องมีระหว่ างการทำงานแบ่งออกเป็น วินัยทั้งหมด 7 ข้อ คือ
- Mind Your Hours
- ใส่ใจกับทุกชม. ที่เราใช้ไป
- มีการบันทึก (Time Log) เพื่อนำมาประเมินการใช้
เวลาของเราได้
- Plan มีการวางแผนอย่างชัดเจน อย่างน้อย 3 ระดับ
- แผน / เป้าหมายของปี
- แผน / เป้าหมายของสัปดาห์
- แผน / เป้าหมายในแต่ละวัน
โดยการวางแผนในแต่ละระดับจะสั มพันธ์กัน ทำให้การทำกิจกรรมในแต่ละวั นของเรา ทำให้เข้าใกล้เป้าหมายปีของเรา มากขึ้นเรื่อยๆ
- Make Success Possible เมื่อเราได้
ทำการวางแผน และเตรียมรายการที่จะต้องทำแล้ว อย่าให้มันเป็นแค่รายการ ให้มันเป็นเหมือน “คำมั่นสัญญา” ที่เราจะต้องทำมันให้ได้ กำหนดรายการที่ต้องทำในแต่ละวั นไว้แค่ 6 รายการโดย - 3 รายการแรก ให้เป็นรายการสำคัญที่ต้องทำให้
เสร็จในแต่ละวัน - 3 รายการที่เหลือ ให้เป็นรายการสำคัญที่ต้องทำเพื
่อให้สำเร็จเป้าหมายระยะยาว
- 3 รายการแรก ให้เป็นรายการสำคัญที่ต้องทำให้
- Know What is Work ต้องรู้ว่าอะไรคืองาน เช่น หากเรารู้ว่า การตรวจสอบ Email การเล่น Facebook การดู Youtube การท่อง Internet ถึงแม้มันจะดูเหมือนไม่ใช่
การทำงาน แต่ถ้ามันคือส่วนที่จะช่วยงาน เราก็ต้องกำหนดให้มันเป็นงาน ต้องกำหนดเวลาที่แน่นอนสำหรับกิ จกรรมนั้นขึ้นมาว่าต้องใช้กี่ ชม.
- Practice การจะเป็น Professional ในสายงานของเราได้นั้นต้องมี
การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ กำหนดตารางเพื่อฝึกฝนทักษะที่ จำเป็นต้อการทำงานของเราขึ้นมา
- Pay In ยอมจ่ายเงินเพื่อขยายความรู้
ความสามารถในสายงานอาชี พของตนเอง (Career Capital) ซึ่งเป็นไปได้หลายทาง เช่น การเข้าร่วม Networking Event การไปทานข้าวกับเพื่อต่ างสาขาอาชีพ หรือ การเข้าอบรมความรู้ใหม่ๆ
- Pursue Pleasure ค้นหาความต้องการของตั
วเองให้เจอ การจะประสบผลสำเร็จได้เราจะต้ องได้ทำงานที่เราชอบ เราต้องการ ผลลัพธ์จะออกมาดีกว่าเสมอ
เนื้อหาน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ Startup รวมถึง คนทำงาน ทุกคนนะครับ สนใจก็ลองไปหาอ่านตัวหนังสืออ่านได้นะครับ
ขอบคุณครับ
editorial note: บทความนี้คือบทความพิเศษ (ที่เราเรียกว่า Guest Post) จาก ณครินทร์ เลิศนามวงศ์ (กาย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินโนเวชั่น พลัส เจ้าของ MAYAR – AR Browser และ SmartSign - ระบบ Android-Based Digital Signage มีประสบการณ์ในธุรกิจ Startup โดยตรงและงานอดิเรกที่ชื่นชอบก็ คือ การได้อ่านหนังสือดีๆ และมาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง บทความนี้ผู้เขียนส่ งมาให้ กองบรรณาธิการ thumbsup อัพโหลดขึ้นให้ชาว thumbsup โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้เขียนเขี ยน ไม่สะท้อนแนวคิดของกองบรรณาธิ การ thumbsup เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของผู้ เขียน
บทความนี้ถือเป็นทรัพย์สินทางปั ญญาของผู้เขียน ซึ่งมี thumbsup เป็นผู้เผยแพร่เดียวที่ได้รั บอนุญาตอย่างเป็นทางการ หากต้องการนำบทความไปใช้กรุ ณาให้เกียรติด้วยการอ้างอิงชื่ อผู้เขียนและลิงก์ กลับมายังบทความต้นฉบับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น